วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553
การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
อัคคีภัยเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ดั่งคำพูด “โจรปล้นสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้เพียงครั้งเดียว” ทั้งยังส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศและทางน้ำอีกด้วย การเกิดอัคคีภัยนั้นหากเกิดกับสถานประกอบกิจการใดก็ตามส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
อัคคีภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร
การเกิดอัคคีภัยขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบหลักครบ 3 ประการด้วยกันคือ เชื้อเพลิง อากาศ และความร้อน เกิดปฏิกิริยาลูกทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้น เปลวไฟจะลุกต่อเนื่องกันไปจนกว่าเชื้อเพลิงจะหมด ไฟก็จะดับไปเอง
-เชื้อเพลิง อาจจะอยู่ในสถานะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ เช่น ไม้ แมกนีเซียม แอมโมเนีย สารตัวทำ
ละลาย ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
-อากาศ ซึ่งอาจจะอยู่ในสถานะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ เช่น ไม้ แมกนีเซียม แอมโมเนีย สารตัวทำ
ละลาย ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
-ความร้อน บริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสมพอที่จะทำให้เชื้อเพลิงนั้นเกิดเปลวไฟขึ้นได้
สาเหตุของการเกิดอัคคีภัย
การเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการต่างๆมักมีสาเหตุเนื่องมาจากความประมาทขาดความระมัดระวัง ในขณะปฏิบัติงาน จากการวิเคราะห์อุบัติเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบกิจการต่างๆ พบว่าการเกิดอัคคีภัยมีสาเหต ุและแหล่งกำเนิดแตกต่างกันไปพอสรุปได้ดังนี้
+ อุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดประเภท ขั้วต่อหลวมการลัดวงจรไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนสูงหรือประกายไฟขึ้นได้
+ การสูบบุหรี่หรือการจุดไฟ ในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงไวไฟ การทิ้งก้นบุหรี่/ไม้ขีดไฟที่ติดไฟแล้วลงถังขยะ
+ การเสียดทาน การเสียดสีของส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องยนต์ จนทำให้เกิดความร้อนสูงหากมีเชื้อเพลิงไวไฟอยู่ใกล้ความร้อนดังกล่าวทำให้เชื้อเพลิงนั้นเกิดการลุกไหม้ได้
+ วัตถุที่มีผิวร้อนจัด เหล็กที่ถูกเผา ท่อไอน้ำ เมื่อเชื้อเพลิงที่มีผิวร้อนจัดอาจเกิดการลุกไหม้
สะเก็ดไฟ ประกายไฟ หรือเปลวไฟ จากการเชื่อมและตัดโลหะ ประกายไฟภายในเครื่องจักรที่ขัดข้องเตาเผาที่ไม่มีสิ่งปกคลุม ประกายไฟ/เปลวไฟเหล่านี้สัมผัสเชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้เคียงทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
+ ไฟฟ้าสถิต เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิตระหว่างวัตถุทำให้เกิดประกายไฟขึ้น
+ ปฏิกิริยาของสารเคมีบางชนิด เกิดจากกระบวนการทางเคมีของสารเคมีซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เมื่อสัมผัสกับน้ำ อากาศ หรือวัตถุอื่น ๆทำให้เกิดการลุกไหม้ได้
+ สภาพบรรยากาศที่มีสิ่งปนเปื้อน ก่อให้เกิดการระบาดได้ เช่น ฝุ่นผง ไอระเหย ก๊าซของสารซึ่งมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงเหมาะสม เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิถึงจุดระเบิดก็จะระเบิดลุกไหม้ขึ้นได้
การป้องกันการเกิดอัคคีภัย
หลักในการป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่สำคัญประการแรก คือ การแยกเชื้อเพลิง ออกซิเจน หรือความร้อน อย่างใดอย่างหนึ่งออกไป ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องดำเนินการ ณ จุดที่อาจจะเป็นสาเหตุของอัคคีภัยได้
- ระบบไฟฟ้า การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งานเมื่อเป็นที่ที่มีไอระเหยของสารไวไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดกันการระเบิดได้ (Explosion proof) บริเวณที่มีไอระเหยของสารที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดทนการกัดกร่อนได้ และหลังเลิกการใช้เครื่องไฟฟ้าควรปิดสวิตซ์และดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง
- การบำรุงรักษาเครื่องจักร หมั่นตรวจตราและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เครื่องจักรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อมิให้เกิดอัคคีภัยจากการชำรุดหรือความบกพร่องของอุปกรณ์นั้น
- การสำรวจและตรวจสอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในอาคารและนอกอาคาร การแยกจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกวิธีตามเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ (Material Safety Date Sheet) เครื่องจักรมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ระบบไฟฟ้า ทางหนีไฟ ฯลฯ
- การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานทุกๆ คน จะต้องทราบและเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติที่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ไม่เป็นต้นเหตุของการเกิดอัคคีภัยและฝึกซ้อมเมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้น การฝึกอบรม และฝึกซ้อมหนีไฟ สถานประกอบกิจการต้องจัดฝึกซ้อม ปีละ 1 ครั้ง โดยลูกจ้าง 40% ต้องเข้ารับการฝึกอบรม และฝึกซ้อมหนีไฟ
- การปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมพัฒนาและการส่งเสริมพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (หมวดที่ 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาแวดล้อมในการทำงาน) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553
อันตรายในงานขัดผิวโลหะ
อันตรายในงานขัดผิวโลหะ
งานขัดผิวโลหะ เป็นส่วนหนึ่งของงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโลหะเกือบทุกชนิด กรรมวิธีการขัดผิวโลหะมีหลายประเภท เช่น ขัดด้วยหินเจียร สายพานขัด ใช้วัสดุขัดในถังหมุน หรือพ่นทราย เป็นต้น การเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับขนาดและความเหมาะสมของชิ้นงาน
อันตรายที่อาจเกิดขึ้น แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. อุบัติเหตุ เกิดขึ้นได้เนื่องจาก
- เศษหินเจียร หรือวัสดุที่เกิดขึ้นจากงานขัด เช่น เศษโลหะต่างๆ หรือผงทรายที่ใช้ในการขัดกระเด็นเข้าตา ซึ่งทำให้ตาบาดเจ็บหรือบอดได้
- สายพานขัดขาด เกิดขึ้นได้เมื่อสายพานเก่า ชำรุด ซึ่งมีแรงเหวี่ยงมากพอที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานบาดเจ็บได้
2.โรคจากการทำงาน ได้แก่
- โรคปอด เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นทราย หรือฝุ่นโลหะที่เกิดขึ้นจากงานขัดเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้มีการสะสมของสารต่างๆ ในปอดโดยเฉพาะบุคคลที่หายใจช้าและลึกจะทำให้ฝุ่นตกค้างในปอดมากขึ้น การที่มีสารแปลกปลอมเข้าไปในปอด จะทำให้เนื้อเยื่อปอดเกิดการระคายเคืองอักเสบ ทำให้เกิดพังผืดขึ้นภายในปอด สมรรถภาพในการทำงานของปอดจะลดลง ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อยง่าย หอบ น้ำหนักตัวลด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอ หายใจถี่ เป็นต้น โรคปอดดังกล่าวมีชื่อเรียกรวมๆ กันว่า นิวโมโคนิโอซิส แต่ถ้าอาการโรคเกิดจากฝุ่นทราย เรียกว่า ซิลิโคซิส ถ้าอาการโรคเกิดจากฝุ่นเหล็ก เรียกว่า ซิเดอโรซิส
เป็นต้น
- โรคผิวหนัง เกิดขึ้นได้จากการที่ผิวหนังต้องสัมผัสกับฝุ่นสารต่างๆ และมีน้ำมันขณะปฏิบัติงานปกติผิวหนังจะมี ไขมัน และเหงื่อ เป็นด่านป้องกันมิให้สารแปลกปลอมแพร่กระจายหรือแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นในได้โดยง่าย ฝุ่นสารหรือน้ำมันจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง ผิวหนังแห้งแตก เกิดการอักเสบเป็นตุ่มแดง และถ้าหากเกิดบาดแผลที่ผิวหนังจะทำให้มีอาการของโรคผิวหนังติดเชื้อลุกลามได้มากขึ้น
- หูตึง งานขัดส่วนใหญ่ก่อให้เกิดเสียงดังเกิน 85 db(A) ซึ่งเป็นระดับมาตรฐานความดังของเสียงที่วสามารถทำอันตรายต่อหูได้ ถ้าคนงานได้รับติดต่อกันเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะเสียงที่มีความถี่สูง (เสียงแหลม) จะทำอันตรายแก่หูได้มากขึ้น การที่คนงานต้องรับฟังเสียงที่ดังเกินขนาดเป็นประจำในระยะเวลานานๆ จะทำให้สมรรถภาพการได้ยินลดลง และเกิดภาวะหูตึงได้
-โรคนิ้วตายจกการสั่นสะเทือน งานขัดบางประเภททำให้เกิดความสั่นสะเทือนอย่างมากต่อมือและแขนเป็นผลให้เส้นโลหิตฝอยที่ปลายนิ้วมือ ขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้นิ้วมือซีดขาว ชา หมดความรู้สึก
ท่านจะป้องกันได้อย่างไร
1. ตรวจสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์การขัดให้เรียบร้อย ก่อนการใช้งาน เช่น ถังหมุนไม่มีรอยรั่ว หินเจียรและสายพานขัดมีขนาดถูกต้อง และไม่ชำรุด สายพานของเครื่องจักรต้องมีฝาครอบ
2. กำจัดปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้นในโรงงาน โดยจัดระบบระบายอากาศในโรงงานให้ถูกทิศทาง และเครื่องดูดอากาศเฉพาะที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงาน เช่น ใส่แว่นตานิรภัยกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา สวมถุงมือกันสารเคมี และสวมหน้ากากกันสารเคมี ถ้าสถานที่ทำงานมีปริมาณฝุ่นสารเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย กรณีทำงานกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน ให้ใส่ถุงมือที่สามารถลดความสั่นสะเทือนได้ และให้ใส่ปลั๊กอุดหูลดเสียงหรือที่ครอบหูลดเสียงในขณะที่ทำงานในที่มีเสียงดัง
4. หมั่นทำความสะอาดที่บริเวณงานและจัดระเบียบภายในโรงงานให้เรียบร้อย
5. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เช่น เอกซเรย์ปอด ทดสอบสมรรถภาพปอด และทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน เป็นต้น
งานขัดผิวโลหะ เป็นส่วนหนึ่งของงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโลหะเกือบทุกชนิด กรรมวิธีการขัดผิวโลหะมีหลายประเภท เช่น ขัดด้วยหินเจียร สายพานขัด ใช้วัสดุขัดในถังหมุน หรือพ่นทราย เป็นต้น การเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับขนาดและความเหมาะสมของชิ้นงาน
อันตรายที่อาจเกิดขึ้น แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. อุบัติเหตุ เกิดขึ้นได้เนื่องจาก
- เศษหินเจียร หรือวัสดุที่เกิดขึ้นจากงานขัด เช่น เศษโลหะต่างๆ หรือผงทรายที่ใช้ในการขัดกระเด็นเข้าตา ซึ่งทำให้ตาบาดเจ็บหรือบอดได้
- สายพานขัดขาด เกิดขึ้นได้เมื่อสายพานเก่า ชำรุด ซึ่งมีแรงเหวี่ยงมากพอที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานบาดเจ็บได้
2.โรคจากการทำงาน ได้แก่
- โรคปอด เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นทราย หรือฝุ่นโลหะที่เกิดขึ้นจากงานขัดเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้มีการสะสมของสารต่างๆ ในปอดโดยเฉพาะบุคคลที่หายใจช้าและลึกจะทำให้ฝุ่นตกค้างในปอดมากขึ้น การที่มีสารแปลกปลอมเข้าไปในปอด จะทำให้เนื้อเยื่อปอดเกิดการระคายเคืองอักเสบ ทำให้เกิดพังผืดขึ้นภายในปอด สมรรถภาพในการทำงานของปอดจะลดลง ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อยง่าย หอบ น้ำหนักตัวลด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอ หายใจถี่ เป็นต้น โรคปอดดังกล่าวมีชื่อเรียกรวมๆ กันว่า นิวโมโคนิโอซิส แต่ถ้าอาการโรคเกิดจากฝุ่นทราย เรียกว่า ซิลิโคซิส ถ้าอาการโรคเกิดจากฝุ่นเหล็ก เรียกว่า ซิเดอโรซิส
เป็นต้น
- โรคผิวหนัง เกิดขึ้นได้จากการที่ผิวหนังต้องสัมผัสกับฝุ่นสารต่างๆ และมีน้ำมันขณะปฏิบัติงานปกติผิวหนังจะมี ไขมัน และเหงื่อ เป็นด่านป้องกันมิให้สารแปลกปลอมแพร่กระจายหรือแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นในได้โดยง่าย ฝุ่นสารหรือน้ำมันจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง ผิวหนังแห้งแตก เกิดการอักเสบเป็นตุ่มแดง และถ้าหากเกิดบาดแผลที่ผิวหนังจะทำให้มีอาการของโรคผิวหนังติดเชื้อลุกลามได้มากขึ้น
- หูตึง งานขัดส่วนใหญ่ก่อให้เกิดเสียงดังเกิน 85 db(A) ซึ่งเป็นระดับมาตรฐานความดังของเสียงที่วสามารถทำอันตรายต่อหูได้ ถ้าคนงานได้รับติดต่อกันเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะเสียงที่มีความถี่สูง (เสียงแหลม) จะทำอันตรายแก่หูได้มากขึ้น การที่คนงานต้องรับฟังเสียงที่ดังเกินขนาดเป็นประจำในระยะเวลานานๆ จะทำให้สมรรถภาพการได้ยินลดลง และเกิดภาวะหูตึงได้
-โรคนิ้วตายจกการสั่นสะเทือน งานขัดบางประเภททำให้เกิดความสั่นสะเทือนอย่างมากต่อมือและแขนเป็นผลให้เส้นโลหิตฝอยที่ปลายนิ้วมือ ขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้นิ้วมือซีดขาว ชา หมดความรู้สึก
ท่านจะป้องกันได้อย่างไร
1. ตรวจสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์การขัดให้เรียบร้อย ก่อนการใช้งาน เช่น ถังหมุนไม่มีรอยรั่ว หินเจียรและสายพานขัดมีขนาดถูกต้อง และไม่ชำรุด สายพานของเครื่องจักรต้องมีฝาครอบ
2. กำจัดปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้นในโรงงาน โดยจัดระบบระบายอากาศในโรงงานให้ถูกทิศทาง และเครื่องดูดอากาศเฉพาะที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงาน เช่น ใส่แว่นตานิรภัยกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา สวมถุงมือกันสารเคมี และสวมหน้ากากกันสารเคมี ถ้าสถานที่ทำงานมีปริมาณฝุ่นสารเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย กรณีทำงานกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน ให้ใส่ถุงมือที่สามารถลดความสั่นสะเทือนได้ และให้ใส่ปลั๊กอุดหูลดเสียงหรือที่ครอบหูลดเสียงในขณะที่ทำงานในที่มีเสียงดัง
4. หมั่นทำความสะอาดที่บริเวณงานและจัดระเบียบภายในโรงงานให้เรียบร้อย
5. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เช่น เอกซเรย์ปอด ทดสอบสมรรถภาพปอด และทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553
การใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัย
การใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัย
เครื่องมือ หมายถึง อุปกรณ์ประกอบการทำงานที่ใช้มือถือ เช่น เลื่อย ค้อน หรือไขควง เป็นต้น การใช้เครื่องมือไม่เป็น ไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสมกับงานก็อาจเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหต
ุขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อจะลดอุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเข้าใจหลักการ
พื้นฐานของการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานให้ถูกต้อง
หลักพื้นฐานของการใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัย
- เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน
- ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี
- รักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพดีเสมอ
- ในการรับส่งเครื่องมือจะต้องกระทำให้เกิดความปลอดภัย
- เก็บรักษาเครื่องมือให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย
- ในระหว่างการทำงานควรจะวางเครื่องมือให้เป็นระเบียบเพื่อความปลอดภัย
- ในการขนย้ายเครื่องมือจะต้องให้เกิดความปลอดภัย
เทคนิคการใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัย
เทคนิคการใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นการใช้เครื่องมือประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย สามารถพิจารณาได้ดังนี้
ตะไบ
วิธีการใช้ตะไบอย่างปลอดภัย
1. อย่าใช้ตะไบที่ไม่มีด้าม
2. ควรใช้แปรงลวดในการทำความสะอาดร่องฟันตะไบ
3. ตะไบเป็นเหล็กที่เปราะ อย่าใช้งัดสิ่งของ
4. อย่าใช้ค้อนตอกบนตะไบ เพราะตะไบอาจจะแตกกระจายเป็นอันตรายต่อร่างกาย
5. ควรใช้ผ้าทำความสะอาดชิ้นงานที่ทำการตะไบเสร็จแล้วไม่ควรใช้มือเปล่า
ค้อน
วิธีการใช้ค้อนอย่างปลอดภัย
1. ในขณะที่ใช้ค้อนให้ระวังข้อมือกระแทกกับชิ้นงาน
2. ค้อนที่จะนำมาใช้งานต้องตรวจสอบให้ดีว่าหัวค้อนและด้ามค้อนยึดติดกันแน่น
3. อย่าใช้ค้อนสองอันตีกระทบกัน เพราะเมือกระทบกันแรงๆ อาจจะแตกเป็นสะเก็ดกระเด็นออกมาได้
4. ถ้าค้อนกระทบกับชิ้นงานแล้วแฉลบ อาจเป็นอันตรายได้
5. ในการวางค้อนบนเก้าอี้หรือโต๊ะทำงานต้องระมัดระวังเพราะถ้าหล่นลงมาอาจทำให้ได้รับ
อันตรายได้
เลื่อยมือ
วิธีการใช้ใบเลื่อยมืออย่างปลอดภัย
1. ในการยึดใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย จะต้องให้ตึงพอดี
2. อย่าทดสอบความคมของใบเลื่อยโดยการลากนิ้วมือลงไปบนฟันเลื่อย
3. เก็บเลื่อยในลักษณะที่เอื้อมมือไปหยิบ แล้วมือไม่โดนฟันเลื่อย
4. อย่าใช้มือลูบไปบนรอยเลื่อยบนชิ้นงาน เพราะว่ารอยเลื่อยบนชิ้นงานมีความคมมาก
5. ใบเลื่อยมีความแข็งแต่เปราะ
ดังนั้นถ้าใบเลื่อยหักขณะที่กำลังปฏิบัติงานอาจจะกระเด็นออกจากโครงเลื่อย จึงต้องระมัดระวังด้วยการการสวมแว่นนิรภัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)